เรื่องราวของโอเมกุ ~ตั้งแต่เกิดจนกว่าจะเดบิวต์~

เรื่องราวของโอเมกุ ~ตั้งแต่เกิดจนกว่าจะเดบิวต์~ เป็นเรื่องที่โอเมกุเล่าชีวิตตัวเองสมัยเด็กจนถึงกว่าจะเดบิวต์เป็นเคงคิวเซนั้นผ่านอะไรมาบ้าง โดยเล่าผ่านไลฟ์ SHOWROOM วันที่ 1 เมษายน 2020 โดยแปลรายละเอียดมาครบทั้งไลฟ์ แต่ตัดออกแค่คำซ้ำ หรือเรียงประโยคใหม่ในประโยคที่พูดสลับไปสลับตำแหน่งเท่านั้น

ใครเพิ่งมาติดตามได้ไม่นาน หรือติดตามห่างๆ ไม่เป็นไรมาทำความรู้จักโอเมกุไปพร้อมๆ กันเถอะค่ะ

สมัยเด็ก

วันนี้ฉันจะมาคุยเรื่องราวตั้งแต่เกิดจนถึงตอนนี้ เป็น ‘เรื่องราวของโอเมกุ (おめぐ物語)’ ค่ะ แต่ว่าฉันไม่มีความทรงจำสมัยช่วงทารกนะ สมัยอนุบาลยังพอมี แต่ก็ไม่ค่อยมีเท่าไหร่

จนจบประถม เป็นพวกเก็บตัวล่ะค่ะ ฉันสมัยก่อนไม่ถนัดการทักทาย แนะนำตัว หรือพูดคุยออกมาเสียงดังได้เลย ไม่ได้มีนิสัยชอบเข้าสังคมเท่าไหร่ ถึงตอนนี้ก็ยังเป็นแบบนั้นก็เถอะ

หลังจากเข้า ม.ต้น หลังจากนั้นก็เริ่มกล้าแนะนำตัวเองได้

ขอย้อนกลับไปช่วงประถมอีกรอบหน่อย ตั้งแต่ ช่วง ป.2 เกลียดการถูกถ่ายรูปค่ะ ขนาดตอนที่ไปชมไฟประดับกับครอบครัวเอง ก็ไม่อยากติดกล้อง บอกว่า “เมกุไม่อยากติดกล้อง!” เกลียดการถูกกล้องถ่ายและติดกล้องเลยล่ะค่ะ

แล้วสักช่วง ป.6 แหละค่ะ เริ่มรู้สึกตัวว่า ไม่มีความทรงจำของตัวเองหลงเหลือเป็นรูปธรรมเลย รู้สึกว่าน่าเสียดายจัง ก็ถึงเริ่มถ่ายรูปขึ้นมาได้

 

ความฝันตอนอนุบาล

ตัวเองก็คิดเหมือนกันว่า ก็ดันมาเป็นไอดอลได้นะเนี่ย แต่ว่าตอนจบอนุบาล ตอนที่ได้รับใบประกาศจบมา จะมีให้พูดออกมาดังๆ ว่า “ความฝันในอนาคตคืออะไร” ล่ะค่ะ เมกุพูดออกมาด้วยความมั่นใจว่า “ความฝันในอนาคตของฉันคือการเป็นไอดอลค่ะ!” แน่นอนว่าที่พูดแบบนั้นถูกผู้ปกครองท่านอื่นหัวเราะคิกคักใหญ่เลยล่ะค่ะ

ความฝันเป็นจริงแล้วค่ะ

(อ่านคอมเมนท์) “สมัยอนุบาลเนี่ย ชอบไอดอลแบบไหนเหรอ”

สมัยอนุบาลเนี่ยเป็นยุค Morning Musume ซัง, MiniMoni ซัง แล้วก็มีฉายพวก แฮมทาโร่, เซเลอร์มูน (เซเลอร์มูนเนี่ย) เป็นยุค Live Action รึเปล่านะ จำไม่ค่อยได้เหมือนกัน แต่ช่วงนั้นหลงใหล Morning Musume ซังเลยล่ะค่ะ

 

ความฝันใหม่ตอนประถม

แล้วก็ช่วง ป.2 ก็เริ่มสนใจเสื้อผ้า จากนั้นก็ไม่ใช่ไอดอลแล้ว เป็นช่วงที่เกลียดถูกถ่ายรูปพอดี แถมชอบวาดรูปมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เลย “อยากเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์” ก่อนเข้า AKB ฝันเคยอยากเป็นดีไซเนอร์มาตลอด ชอบริเริ่มทำอะไรสักอย่างน่ะค่ะ

 

เริ่มรู้จัก AKB48

ช่วง ป.6 รู้จัก AKB48 ตอนช่วง Sakura no Shiori ก็คิดว่าน่ารักดี ตอนนั้นก็คิดแค่ว่า “เป็นกลุ่มเด็กผู้หญิงที่น่ารักดี” แต่เริ่มลงหลุม… จะเรียกว่างี้ดีมั้ยคะ เริ่มดำดิ่งไปกับ AKB48 ก็ตอน River ที่หลังจาก Sakura no Shiori ก็คิดว่าน่ารักแล้วก็เท่ด้วย หลังจากนั้นก็ชอบ AKB48 ตลอดเลย เช็กตลอดทุกซิงเกิล

 

งานจับมือกับโอชิมะ ยูโกะซัง

แล้วตอน ป.6 ไปงานจับมือทั่วประเทศซิงเกิล Beginner ที่ Ajinomoto Stadium ซึ่งตอนนั้นเป็นนักเรียนเตรียมสอบพอดี ก่อนไลฟ์เริ่มก็หยิบเอกสารมาอ่านหนังสือ แล้วก็ตอนจบไลฟ์จนถึงก่อนงานเริ่มก็อ่านหนังสือค่ะ

จับมือกับโอชิมะ ยูโกะซัง น่ารักสุดๆ เลย เสียงไม่ออก น่ารักเกินไปจนพูดอะไรไม่ออกเลย อย่างงานจับมือฉัน ที่เลนฉันก็มีคนที่คุยออกมาไม่ได้อย่างราบรื่น แข็งทื่อไปเลยอยู่เหมือนกัน เลยเข้าใจความรู้สึกนั้นอย่างดีค่ะ

(ส่วนเรื่องจับมือกับยูโกะซัง) ตอนนี้ยังจำได้ดีเลย ไปกับหม่าม้ากัน 2 คนล่ะ

“น่ารักจนพูดอะไรไม่ออกมันเป็นแบบนี้เอง”

ไม่เชิงว่าน้ำตาจะไหล แต่แบบหายใจรุนแรงแบบ “ตัวจริงน่ารักเกินไปแล้ว” ตกใจอย่างหนัก ไม่มีวันลืมเลยค่ะ

จากนั้นก็สอบเข้าผ่าน ก็คิดว่าเป็นเพราะโอชิมะ ยูโกะซังแหงเลย 

 

ชีวิตแฟน AKB ในช่วง ม.ต้น

ตลอดช่วง ม.ต้น ก็ชอบ AKB48 คอยสนับสนุนตลอด ซื้อซีดีทุกครั้ง แต่เพราะมีกิจกรรมชมรมเลยไม่ได้ไปงานจับมือ งานจับมือเดี่ยวไม่เคยไปสักหน การแสดงที่เธียเตอร์ก็ไม่เคยไปชมด้วยค่ะ

เพราะฉะนั้นเคยไปงานก็แค่งานจับมือทั่วประเทศตอนซิงเกิล Beginner แค่ครั้งเดียวค่ะ

 

แล้วก็ยุคนั้นเมมเบอร์ AKB48 เล่น Google+ กันส่วนมาก อย่าง SKE ซัง NMB ซังก็ชอบมาก ชอบทุกคนมากเลยตาม Google+ ตลอด

ดูรูปแล้วก็แบบ “น่าร้ากกก…” “เด็กคนนี้น่ารักจัง” อะไรแบบนี้ เป็น DD ตั้งแต่ตอนนั้นเลย เช็ก Google+ เมมเบอร์หลายคนตลอด คอมเมนท์นี่ไม่ได้คอมเมนท์นะคะ ไม่ใช่พวกที่เข้าหาขนาดคอมเมนท์ เป็นแนวคอยเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ค่ะ

 

แล้วก็แบบเอารูปเมมเบอร์หลายคนให้หม่าม้าดูว่า “เด็กคนนี้น่ารัก”, “น่ารักเนอะ” แบบตื๊อน่าดูเลยค่ะ

หม่าม้าก็ตอบกลับมาว่า “ลูกอย่าเอาแต่เป็นฝ่ายดูสิ ลองทำอะไรขึ้นมาสักอย่างสิ”

 

ตอนนั้นก็งงๆ ว่า

“ทำไมหม่าม้าต้องโกรธขนาดนั้นด้วย”
“ไม่ได้ทำเรื่องไม่ดีนี่นา”
“แค่บอกว่าน่ารักเอง”
“จำเป็นต้องโกรธด้วยเหรอ”

จุดเปลี่ยนคือคำพูดหม่าม้า

และด้วยคำพูดหม่าม้านั่นแหละก็คือว่า “ต้องทำอะไรแล้ว ทำยังไงดีๆๆ” แล้วจังหวะนั้น AKBINGO! ที่อัดไว้ ตรงช่วง AKB News ก็มีขึ้นว่า เปิดรับสมัครออดิชั่นรุ่นที่ 15 

ตอนนั้นก็คิดว่า “เนี่ยแหละ!!”

 

ในตอนนั้นบอกว่า “อยากสมัคร” แค่กับหม่าม้าคนเดียว ขอให้ช่วยถ่ายรูปให้ หน้าอย่างบวมและขี้เหร่ขนาดรู้สึกว่าก็ผ่านคัดเลือกรอบแรกมาได้ไง หน้ากลมสุดๆ ขี้เหร่ระดับที่หน้าตาแบบนี้ก็ผ่านออดิชั่นได้มาได้เนอะ

 

ผ่านการคัดเลือกรอบแรก… รอบที่สอง…

และตอนที่เข้าคัดเลือกรอบสุดท้ายถึงได้บอกป่าป๊าค่ะ ป่าป๊าดูดีใจกว่าที่คิดไว้เลย แถมยังคอยเชียร์อีก แล้ววันที่คัดเลือกรอบสุดท้าย ป่าป๊าเป็นคนขับรถไปส่งถึงสถานที่คัดเลือกค่ะ เพราะระยะทางที่เดินทางได้ด้วยรถค่ะ

 

เลขออดิชั่นเบอร์ 48

หลายวันก่อนที่เข้าคัดเลือกรอบสุดท้าย จะรู้เลขที่ใช้คัดเลือกค่ะ แล้วป่าป๊าเป็นคนสังเกตว่า “เมกุ โฟร์ตี้เอท (48) นี่นา! เลขออดิชั่นเป็นโฟร์ตี้เอทเลยนะ!”

ก็คิดว่า “เอ๋ เมกุโฟร์ตี้เอทเหรอเนี่ย” ตอนแรกก็แบบ “เบอร์ 48 นะ” ก็ตอบไปว่า “ค่า” เท่านั้นเอง ไม่ได้เอะใจอะไรเลย

พอป่าป๊าทักก็คิดขึ้นมาว่า “สุดยอด!!” บังเอิญแหละค่ะ แต่สุดยอดไปเลย แล้วก็ตัวเองก็คิดขึ้นมาว่า “แบบนี้มีแววผ่านนะเนี่ย” ถึงจะยังมีความตื่นเต้นกังวลอยู่ แต่เพราะเป็นเลขโฟร์ตี้เอทก็ทำให้รู้สึกขึ้นมาว่า “ต้องผ่านให้ได้” ไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไรเลย

เช้าวันที่ออดิชั่นรอบสุดท้าย

ในเช้าวันที่ไปคัดเลือกออดิชั่น บนรถตอนเช้าที่ไปส่งที่สถานที่ออดิชั่น เป็นเวลาค่อนข้างเช้าอยู่ เห็นภูเขาไฟฟุจิด้วยค่ะ

“อ้าว นั่นภูเขาไฟฟุจินี่นา”
“สุดยอด!!”
“ดวงดีเป็นบ้าเลย แบบนี้ผ่านแหงๆ”

คึกระดับว่า “เมกุเตรียมผ่านออดิชั่นล่ะ”

แล้วก็คิดว่า “ฉันใช้ดวงทั้งชีวิตหมดไปแล้วรึเปล่าเนี่ย”

แล้วก็ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายมาได้ค่ะ ตกใจไม่มีวันลืมเลยค่ะ

 

ตกรอบในครั้งแรกสุด

แล้วหลังจากผ่านคัดเลือกรอบสุดท้ายมาก็จะถูกเรียกว่า “ผู้คัดเลือกเป็นเคงคิวเซรุ่นที่ 15” มี Lesson ทั้งวันตลอด 1 เดือน แล้วก็จะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  • เคงคิวเซ (เด็กฝึกหัด)
  • คาริเคงคิวเซ (เด็กฝึกหัดชั่วคราว)
  • แล้วก็กลุ่มสุดท้ายก็แบบ… ร่ำลากันไป

ของฉันตอนนั้นแรกสุดอยู่กลุ่มที่ร่ำลาล่ะค่ะ ที่จริงฉันตกรอบในครั้งแรกสุดค่ะ 

“ตกรอบแฮะ ตัวเองยังความสามารถไม่พอล่ะนะ”

 

โอกาสอีกครั้ง

แต่แล้วก็มีการออดิชั่นอีกรอบ ประมาณว่า “จะทำการ Selection อีกรอบ” พอรู้ก็คิดว่า “ขืนตกรอบตรงนี้ก็จบกันพอดี ยังมีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นไปจากสถานะตอนนี้อยู่ ก็มีแต่ต้องพยายามล่ะนะ” เลยซ้อมอย่างเอาเป็นเอาตายเลยค่ะ เพลง Shonichi แล้วก็ซ้อมเพลงสเตจ Pajama Drive หลายๆ เพลง

และในการออดิชั่นครั้งที่ 2 นี่เองก็หลุดรอดเป็นคาริเคงคิวเซจนได้ค่ะ

 

Lesson ตลอด 1 ปีในฐานะคาริเคงคิวเซ

Lesson ในฐานะคาริเคงคิวเซตลอด 1 ปี แล้วครึ่งแรกปีของใน 1 ปีนั้นรึเปล่านะ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงมี Selection อีกรอบค่ะ พวกมากิจังสอบผ่าน ส่วนฉันยังเป็นคาริเคงคิวเซต่อไป ก็คิดว่า “ยัง (ความสามารถ) ไม่พอสินะ”

แล้วจากนั้นก็ถูกบอกมาว่า “จำสเตจ Te wo Tsunagi Nagara เท่าที่จำได้มาใน 1 สัปดาห์ด้วยนะ” ก็คิดว่าจะจำให้ได้หมดใน 1 สัปดาห์เลย! 

ดู DVD อย่างหนัก จำอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะงั้นบางที (ให้เล่นตอนนี้) ฉันอาจจะเล่นสเตจ Te wo Tsunagi Nagara ได้นะ

จำอย่างเอาเป็นเอาตายเลยค่ะ จำทั้งตำแหน่ง ทั้งพาร์ทร้องเพลง ทั้งท่าเต้นภายใน 1 สัปดาห์ แล้วก็เดบิวต์เป็นเคงคิวเซจนได้ค่ะ

นี่คือเรื่องราวตั้งแต่ฉันเกิดมาจนกว่าจะได้เดบิวต์ AKB ของฉันค่ะ

คิดว่าดีจริงๆ ที่มีช่วงอยู่ข้างล่างเวลา 1 ปีนี้

(แถม) หลังเดบิวต์

หลังเดบิวต์แล้ว เพราะเคงคิวเซมีแค่ 2 คน เลยต้องจำตำแหน่งเต็มไปหมด ต้องจำให้ได้ทันทีไม่มีเวลาให้ถึงสัปดาห์เลย มีแนวๆ ให้จำให้ได้เร่งด่วนก็เยอะ

ตอนคาริเคงคิวเซ เพราะเคยมีความรู้สึกอยากจะจำสเตจ Te wo Tsunagi Nagara ให้ได้ใน 1 สัปดาห์เลยทำให้สามารถจำ (ครั้งนี้) ได้ค่ะ

แต่สเตจเดบิวต์ของฉันนี่อย่างโศกนาฏกรรมเลยค่ะ ตำแหน่งยืนกระเด็นหายไปจากหัวเลย รู้สึกว่าแย่แล้วๆ ถูกจับย้ายว่า “เมกุต้องทางนี้นะ” ลำบากน่าดูเลยค่ะ เป็นสเตจที่นรกเลยค่ะ

ก็คิดว่า “ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำสองเด็ดขาด” แล้วในทุกๆ วันต่อให้ไม่มีสเตจก็ซ้อมสเตจทั้งสเตจคนเดียวที่บ้าน

ไม่ได้ร้องไห้นะ รู้สึกว่าแย่ขนาดที่ร้องไห้ไม่ออกเลย แบบว่าสเตจวันนี้แย่ๆๆๆ มาก จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *